วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชาระบบฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน


ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน รูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน


ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) Database Management System หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล


สรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1

ระบบฐานข้อมูล (Database System)
ระบบฐานข้อมูล คือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้าคงคลัง และข้อมูลพนักงานขาย เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมอาจจะเก็บอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เมื่อมีการใช้วิธีการจัดเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล ก็จะนาข้อมูลเหล่านี้มาจัดเก็บไว้ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขององค์กร ทาให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล ก็สามารถทาได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล(DatabaseManagement System : DBMS)

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทาหน้าที่ในการกาหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออานวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กาหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกาหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอานวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งรายละเอียดของประโยชน์ในการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลจะได้กล่าวถึงต่อไป

ประโยชน์ของฐานข้อมูล
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. ความสอดคล้องของข้อมูล
3. ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น
4. มีการใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5. เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล
6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย

หลักการออกแบบฐานข้อมูล
1. วัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
2. ต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้างจากระบบนี้
3. ถามความต้องการของผู้ใช้ ต้องการข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ต้องการอะไรบ้าง
4. วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5. จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บให้อยู่ในรูปแบบตาราง
6. วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง กำหนดเขตข้อมูลให้ครบถ้วน
7. พิจารณาเขตข้อมูลหลักหรือฟิลด์หลัก (Primary Key)ของ แต่ละตาราง
8. วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization
9. กำหนดชนิดข้อมูล ที่ต้องการเก็บว่าอยู่ในรูปแบบใด
10. กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูลออกแบบหน้าจอการใช้งาน

ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล ซึ่งขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้าง จากระบบนี้ เช่น รายงานสรุปต่าง ๆ ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจน
- สอบถามความต้องการของผู้ใช้ว่าจะต้องป้อนข้อมูลใดบ้างเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากระบบต้องการอะไรบ้าง
- วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
- จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง (Table) โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่
- วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง เพื่อกำหนดเขตข้อมูลหรือฟิลด์ข้อมูลให้ครบถ้วน
- พิจารณาเขตข้อมูลหลักหรือฟิลด์หลัก (Primary Key) ของแต่ละตาราง
- วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization เพื่อให้ได้ตารางข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและถูกต้อง
- กำหนดชนิดข้อมูล (Data Type) ที่ต้องการจัดเก็บว่าอยู่ในรูปแบบใด
- กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล (Relationship)
- ออกแบบหน้าจอการใช้งาน

ความสามารถของ Microsoft Access 2007
- สร้างแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลนักเรียน เป็นต้น ซึ่งมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- สามารถสร้างตาราง (Table) เก็บข้อมูล และออกแบบโครงสร้างของข้อมูลได้
- มีเครื่องมือที่ช่วยในการสอบถามข้อมูล (Query) จากฐานข้อมูล และสามารถคำนวณหาผลลัพธ์ได้อีกด้วย
- มีเครื่องมือฟอร์ม (From) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
- สามารถสรุปรายงาน (Report) ออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่นรายงานสรุปข้อมูล โดยมีการแบ่งกลุ่ม รายงานสรุปข้อมูลแบบหลายมิติ (Pivot Table) และการสร้างฉลากติดซองจดหมายเพื่อส่งข้อมูลไปยังลูกค้า เป็นต้น
- มีแม่แบบ (Template) และเครื่องช่วย (Wizard) ที่ช่วยในการสร้างฐานข้อมูลให้สะดวกยิ่งขึ้น
- สามารถนำข้อมูลเข้า (Import) จากฐานข้อมูลอื่น หรือส่งข้อมูลออก (Export) ไปยังฐานข้อมูลอื่นได้
- สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย Windows SharePoint Services เพื่อแบ่งปันข้อมูล Access 2007 กับทุกคนในทีมโดยใช้ Windows SharePoint Services และ Access 2007

คุณสมบัติใหม่ของ Access 2007
การทำงานใน Access 2007 นั้นมีการปรับปรุงด้านหลัก ๆ 4 ด้านคือ
- ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
- การจัดการรูปแบบของไฟล์โดยสนับสนุนไฟล์ฟอร์แมตใหม่ 3 ชนิดคือ MicrosoftOffice Open XML, PDF และ XPS
- ปรับปรุงการทำงานร่วมกันของโปรแกรมในชุด Microsoft Office
- ปรับปรุงด้านความปลอดภัย

กฎการ Normalization
เป็นกฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย และถ้าเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว เราใช้กฎ Normalization เพียง 3 ข้อก็เพียงพอในการออกแบบตารางโดยทั่วไปแล้วจากรายละเอียดทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
- กฎข้อที่ 1 (First Normal Form) กล่าวว่า จะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน
- กฎข้อที่ 2 (Second Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 2 จะต้องไม่มีแอตตริบิวต์ (Attribute) หรือฟิลด์ที่ไม่ใชคีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก จะต้องมีเฉพาะคีย์หลักเต็ม ๆ เท่านั้น ซึ่งจะผ่านกฎข้อนี้ จะต้องแยกฟิลด์เฉพาะออกมาสร้างตารางใหม่ แล้วใช้ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many)
- กฎข้อที่ 3 ( Third Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 3 จะต้องไม่มีแอตตริบิวต์ใดที่ขึ้นกับแอตตริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก การแก้ไขให้ผ่านกฎข้อนี้ ทำได้โดยแยกตารางออกมาสร้างตารางใหม่
ความต้องการของระบบในการใช้งาน Access 2007
- กฎข้อที่ 4 ( Fourth Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 4 จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่ม(Multivalued Dependency) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบ Many-to-Many ภายในตารางเดียวกัน

ความต้องการของระบบขั้นต่ำที่ไมโครซอฟต์ได้ระบุไว้ดังนี้
- หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) อย่างต่ำ 500 MHz
- หน่วยความจำ (RAM) อย่างต่ำ 256 MB แนะนำ 512 MB
- พื้นที่เก็บข้อมูล (Harddisk) 1.5 GB
- ไดรฟ์ต่าง ๆ เช่น CD-ROM,DVD เป็นต้น
- ความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ 1024 x 768 พิกเซล หรือสูงกว่า
- ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP Service Pack2 หรือ Windows Server 2003 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่า

การเริ่มสร้างฐานข้อมูล
หลังจากที่เข้าสู่โปรแกรมแล้ว จะปรากฏหน้าจอโปรแกรมให้เริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลใหม่หรือเรียกใช้รูปแบบสำเร็จรูป (Template) ซึ่งในการเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลใหม่นั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Blank Database เพื่อเข้าสู่การสร้างฐานข้อมูลเปล่า
2. ตั้งชื่อฐานข้อมูลที่ช่อง File Name
3. คลิกปุ่มโฟลเดอร์เพื่อกำหนดแหล่งเก็บ
4. เลือกแหล่งเก็บฐานข้อมูลที่ช่อง Save in
5. คลิกปุ่ม OK
6. คลิกปุ่ม Create จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอโปรแกรมเพื่อเริ่มต้นสร้างตารางเก็บข้อมูล


ตอนที่ 1 แบบปรนัย
1. ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร
ตอบ ข. ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล
2. หลังจากที่สร้างฐานข้อมูลแล้ว จะต้องสร้างออบเจ็กต์ใดเป็นอันดับแรก
ตอบ ก. Table
3. ออบเจ็กต์ใดที่ทำหน้าที่การเก็บข้อมูลทั้งหมดลงฐานข้อมูล
ตอบ ข. Query
4. ออบเจ็กต์ Query มีหน้าที่ทำอะไร
ตอบ ค. สร้างแบบสอบถามข้อมูล
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของออบเจ็กต์ Form
ตอบ ข. เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล
6. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช กฎของการ Normalization
ตอบ ข. จะต้องมีความสัมพันธ์แบบเชิงกลุ่ม (Many-to-Many)
7. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่ได้รับของระบบฐานข้อมูล
ตอบ ค. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
8. ขั้นตอนใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนแรกในการออบแบบฐานข้อมูล
ตอบ ก. กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
9. ส่วนประกอบต่อไปนี้เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 ยกเว้น ข้อใด
ตอบ ง. Ribbon
10. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
ตอบ ก. เมื่อบันทึกฐานข้อมูลใน Access 2007 จะมีนามสกุล .accdb

ตอนที่ 2 แบบจับคู่ ค าชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่คำต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ช. DBMS ก. แถบในการแสดงออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น
2. จ. Normalization ข. แบบสอบถามข้อมูล
3. ซ. Office Button ค. ส่วนของพื้นที่การทำงานของออบเจ็กต่าง ๆ
4. ญ. Quick Access Toolbar ง. ชุดคำสั่งกระทำการต่าง ๆ ที่นำมารวมกัน
5. ฌ. Ribbon จ. กฎที่ใช้ในการออบแบบตาราง
6. ก. Navigation Pane ฉ. โปรแกรมย่อยที่เขียนขึ้นภาษา VBA
7. ค. Document Window ช. ระบบจัดการฐานข้อมูล
8. ข. Query ซ. ปุ่มที่รวบรวมชุดคำสั่งในการจัดการฐานข้อมูล
9. ง. Macro ฌ. ส่วนการทำงานใหม่ที่เข้ามาแทนที่แถบเมนูและแถบเครื่องมือ
10. ฉ. Module ญ. แถบเครื่องมือที่รวบรวมปุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆเอาไว้

ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. จงอธิบายถึงความหมายของฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) คือข้อมูลจำวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง และข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในการสร้างตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นสิ่งที่ต้องทำป็นอันดับแรก หรือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องนำปใช้งานต่อไป
2. ระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลใน
ส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล จะทำห้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและ ที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
3. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำ เข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูล จะคอยควบคุมให้มีการน าเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูป
แบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
5. มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ และสามารถก าหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะท าการตรวจสอบสิทธิ์ในการท างานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลง
รูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ท าให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
3. ใน Microsoft Access 2007 ประกอบไปด้วยออบเจ็กต์อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร
1.Table ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
2.Queries ช่วยค้นหาหรือสร้างแบบสอบถามข้อมูล
3.Froms แบบฟอร์มในการทำงาน สำหรับจัดการกับข้อมูลแทนการจัดการในตาราง
4.Report ใช้ในการสร้างรายงาน
5.Macros ชุดคำสั่งที่นำมาร่วมกันตามขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้การทำงานเป็นอัตโนมัติ
6.Modules ช่วยให้ทำงานกับข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
4. จงอธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูลมาพอใจ
ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล

5. จงยกตัวอย่างระบบงานที่ควรนำระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้ พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล
งานทะเบียน เพราะว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับประวัติของพนักงานหรือนักเรียนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลต่างๆหลายอย่างมาเก็บข้อมูลไว้ได้ง่าย


แบบฝึกห้ดท้ายบทที่ 2

ตอนที่ 1 แบบปรนัย
1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของตาราง(Table)ได้ชัดเจนที่สุด
ตอบ ง. ออบเจ็กต์ที่เก็บข้อมูลในฐานข้อมูล
2.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด
ตอบ ง. Attachment เป็นชนิดข้อมูลสำหรับสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังไฟล์
3.ฟิลด์(Field)หมายถึงอะไร
ตอบ ค. คอลัมน์
4.เรคคอร์ด(Record)หมายถึงอะไร
ตอบ ง. ข้อมูล
5.ชนิดข้อมูลแบบ(Text)สามารถเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักษร
ตอบ ค. 255
6.ถ้าต้องการกำหนดฟิลด์ในการเก็บข้อมูลจำนวนมากๆจะต้องเลือกชนิดข้อมูลแบบใด
ตอบ ก. Memo
7.มุมมองที่ใช้ในการสร้างตารางด้วยการออกแบบเองคือมุมมองใด
ตอบ ก. Design View
8.ชนิดความสัมพันธ์ของข้อมูลมีกี่แบบ
ตอบ ข. 3 แบบ
9.ข้อใดต่อไปนี้ ไม่สามารถ นำมาประกอบในการตั้งชื่อฟิลด์ข้อมูลได้
ตอบ ง. เครื่องหมายจุด(.)
10.ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลในตารางจากน้อยไปหามาก จะต้องใช้เครื่องมือใด
ตอบ ก. Ascending

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนจับคู่ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ฌ Field ก. กำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล
2. ง Record ข. เก็บข้อมูลประเภทรูปภาพ
3. จ Memo ค. เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก
4. ข OLE object ง. ข้อมูลในแนวแถว
5. ซ Currency จ. เก็บข้อมูลประเภทข้อมูลที่มีความยาวมากๆ
6. ญ Attachment ฉ. กำหนดรูปแบบแสดงข้อมูล
7. ก Input Mask ช. เรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อย
8. ฉ Format ซ. เก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงิน
9. ช Descending ฌ. ข้อมูลในแถวคอลัมน์
10.ค Ascending ญ. เก็บเอกสารและแฟ้มไบนารี่ทุกชนิดในฐานข้อมูล


ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
1.จงอธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างตาราง
คือ การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสูง ผู้ใช้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว มีการจัดเป็นระเบียบ
2.จงบอกถึงคุณสมบัติในการเลือกฟิลด์ข้อมูลที่จะนำมาเป็นคีย์หลัก(Primary Key)
คือ ข้อมูลของแอททริบิวท์มีความเป็นหนึ่งเดียว(Uniqueness) ทุกแถวของตารางจะต้องไม่มีข้อมูลของแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลักซ้ำกันเลย
ต้องประกอบด้วยจำนวนแอททริบิวท์ที่น้อยที่สุด()ที่จะสามารถใช้เจาะจงหรืออ้างอิงถึงแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชันได้
3.อธิบายความแตกต่างในการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ(Table Design)และมุมมองแผ่นตารางข้อมูล(Datasheet View)
คือ การสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ เป็นการกำหนดฟิลด์ข้อมูลของตาราง ชนิดข้อมูล และคุณสมบัติของฟิลด์แต่ละฟิลด์ แต่การสร้างตารางแผ่นตารางข้อมูลจะเป็นการป้อนข้อมูลที่จะเก็บไว้ในตาราง
4.จงบอกขั้นตอนในการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบว่ามีขั้นตอนอย่างไร
1.คลิกเข้าไปในโปแกรม Microsoft Access 2007 แล้วเลือกที่ฐานข้อมูลเปล่า กำหนดชื่อฐานข้อมูล กำหนดไฟล์ที่ต้องการจะเก็บข้อมูล แล้วกด สร้าง
2.คลิกเข้าไปที่เมนูมุมมองแล้ว เลือก เมนูการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ
3.กำหนดชื่อของตาราง
4.กำหนดชื่อของเขตของข้อมูล
5.กำหนดชนิดของข้อมูล
6.กำหนดชื่อคำอธิบายแล้วกำหนดขนาดของขอบเขตข้อมูล
5.ในการสร้างตารางด้วยแม่แบบ(Template)มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี ทำงานได้สะดวกและรวดเร็ว
ข้อเสีย จะไม่ตรงต่อความต้องการทั้งหมดแต่เราสามารถเปลี่ยนเองได้

3 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ตรวจแบบฝึกหัดบทที่ 1 ตอนที่ 1 แบบปรนัย ถูก 5 ข้อ
    ตอนที่ 2 แบบจับคู่ ถูกทุกข้อ

    ตอบลบ