วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล

แบบฝึกหัด บทที่ 5

การสร้างรายงาน (REPORT)
ตอนที่ 1 แบบปรนัย
1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทของรายงาน
ตอบ ง. Chat
2. มุมมองของรายงานที่เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 คือมุมมองใด
ตอบ ก. Layout View
3. Page Footer คือส่วนใด
ตอบ ค.ส่วนที่ต้องการแสดงผลข้อมูลให้ปรากฏอยู่ที่ส่วนท้ายของทุกๆหน้ารายงาน
4 หลังจากแทรกชื่อเรื่อง(Title)ของรายงานแล้ว จะแสดงพื้นที่ส่วนใดของรายงานให้อัตโนมัติ
ตอบ ง.ถูกทุกข้อ
5. ผลลัพธ์ในการสร้างรายงานแบบอัตโนมัติจะมีลักษณะของรายงานเป็นแบบใด
ตอบ ง. Label
6. ถ้าต้องการสร้างรายงานโดยให้มีการจัดกลุ่มของข้อมูลด้วย จะต้องสร้างรายงานด้วยวิธีใด
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
7. ถ้าต้องการสรุปข้อมูลในรายงานโดยให้แสดงอยู่ที่ส่วนท้ายสุดของรายงานจะต้องกำหนดที่ตำแหน่งใด
ตอบ ข. Page Footer
8. ในการป้อนข้อมูลสูตรฟังก์ชั่นจะต้องใช้เครื่องมือใด
ตอบ ข. Text box
9. ฟังก์ชั่นใดที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล
ตอบ ง. Avg
10. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเขียนสูตรฟังก์ชั่นในการหาผลรวมของฟิลด์เงินเดือน
ตอบ ข.= Sum ([Salary])
ตอนที่ 2 จับคู่
1. ฌ Columnar Report ก.ส่วนในการแสดงฟิลด์ข้อมูลที่ดึงมาจากตาราง
2. จ Tabular Report ข.รายละเอียดในส่วนหัวรายงานที่แสดงในหน้าแรก
3. ฉ Label Report ค.แสดงเลขหน้าปัจจุบัน
4. ญ Page Header ง.รวมข้อมูลทั้งหมด
5. ข Report Header จ.แสดงข้อมูลทุกเรคอร์ดใน 1 หน้ารายงาน
6. ก Detail ฉ.พิมพ์ป้ายฉลากติดซองจดหมาย
7. ช Pages ช.แสดงเลขหน้าทั้งหมด
8. ค Page ซ.แสดงข้อมูลโดยเรียงฟิลด์แต่ละเรคคอร์ดจากบนลงล่าง
9. ง Sum ฌ.นับจำนวนทั้งหมด
10. ซ Count ญ.รายละเอียดในส่วนหัวรายงานที่แสดงทุกหน้าของรายงาน

ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
1. การสร้างรายงานมีกี่แบบ อะไรบ้าง และแต่ละแบบมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ มี 3 แบบ คือ
1. รายงานแบบคอลัมน์ (Columnar Report) เรียงฟิลด์แต่ละเรคคอร์ดจากบนลงล่างทีละ 1 เรคคอร์ด
2. รายงานแบบตาราง (Tabular Report) แสดงแบบแถวและคอลัมน์ แสดงข้อมูลทุกเรคคอร์ดใน 1 หน้ารายงาน
โดยเรียงจากซ้ายไปทางขวาของรายงาน
3. รายงานแบบป้ายชื่อ (Label Report) สำหรับพิมพ์ป้ายฉลากต่าง ๆ เช่น ฉลากติดซองจดหมาย เป็นต้น
2. จงบอกถึงส่วนประกอบของรายงาน และแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไร
ตอบ 1. Report Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าแรกของรายงานเท่านั้น เช่น โลโก้ของรายงาน แสดงชื่อรายงาน เป็นต้น
2.Page Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของหน้ากระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงชื่อกำกับฟิลด์(รายงานแบบตาราง) แสดงเลขหน้าเป็นต้น
3. Detail คือ พื้นที่ในการแสดงข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล ทั้งในตารางและในแบบสอบถามข้อมูล
4. Page Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของกระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความ
หรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงเลขหน้า เป็นต้น
5. Report Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าสุดท้ายของรายงานเท่านั้น เช่น แสดงผลการคำนวณ แสดงวันที่จัดพิมพ์ เป็นต้น
3. จงอธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Report Wizard
ตอบ 1. คลิกที่แท็บ Create
2.คลิกเลือก Report Wizard ในกลุ่มของ Reports
3.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างรายงาน
4.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกทีละฟิลด์ หรือคลิกปุ่ม >> เพื่อนเลือกฟิลด์ทั้งหมด
5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
6.เลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงรายละเอียด
7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
8.เลือกฟิลด์ที่ต้องการ แบ่งกลุ่มข้อมูล แล้วคลิกที่ปุ่ม >เพื่อเลือกฟิลด์
9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับ ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามากให้คลิกที่ปุ่ม Ascendingและคลิกที่ปุ่มDescending ถ้าต้องการเรียนจากมากไปหาน้อย
11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
12. เลือกรูปแบบตำแหน่งการจัดวางรายงานที่ Layoutและที่Orientationเลือกแนวกระดาษเลือก Portraitสำหรับแนวตั้งและ Landscape สำหรับแนวนอน
13.แล้วคลิกปุ่ม Next>
14.เลือกสไตล์หรือรูปแบบรายงานที่ต้องการ
15.แล้วคลิกปุ่ม Next>
16.ตั้งชื่อรายงานที่ต้องการ และเลือกการแสดงผลรายงานในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขรายงาน
17.แล้วคลิกปุ่ม Finish
4.อธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Label Wizard
ตอบ 1. คลิกที่แท็บ Create
2.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างเลเบล
3.คลิกที่ปุ่ม Labelsในกลุ่มของ Reports จากนั้นจะแสดงหน้าจอให้เลือกขนาดของเลเบล
4.เลือกขนาดของแถบที่ต้องการ ซึ่งถ้าหารต้องการกำหนดขนาดของเลเบลใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม Customize แล้วกำหนดขนาดใหม่
5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
6.กำหนดรูปแบบที่ต้องการแสดง
7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
8.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการแสดงในเลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกข้อมูล ซึ่งถ้าหากต้องการเว้นวรรคในแต่ละฟิลด์ ให้กดปุ่ม Spacebar ที่แป้นพิมพ์ และถ้าต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ก็สามารถกดปุ่ม Enterได้
9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับข้อมูลใน เลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกฟิลด์ข้อมูล
11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
12.ตั้งชื่อรายงานและเลือกการแสดงผล เลเบล ในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขเลเบล
13.แล้วคลิกปุ่ม Finish
5. จงบอกถึงข้อดีและข้อเสียของรายงานแบบอัตโนมัติ
ตอบ ข้อดี

-สะดวกรวดเร็ว
-สามารถคำนวณข้อมูลได้
-สามารถพิมพ์ออกมาได้

ข้อเสีย

- ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในตารางได้ในขณะที่พิมพ์ออกมาได้แบบฟอร์ม

ระบบฐานข้อมูล

แบบฝึกหัดบทที่ 4 การสร้างฟอร์ม (Form)

1.ความหมายของฟอร์ม (Form)
ตอบ คือ หน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อนช่วยให้ผู้ใช้ทำงานกับข้อมูลในตารางได้สะดวกกว่าการใช้มุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับแอปพลิเคชั่นที่ได้สร้างขึ้นมาอีก
2.ประเภทของฟอร์มมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ มี 5 แบบ คือ
1.ฟอร์มแบบคอลัมน์ (Columnar Form) หรือฟอร์มเดี่ยว ซึ่งเป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูล หนึ่งเรดคอร์ดต่อหนึ่งหน้าของฟอร์ม
2.ฟอร์มแบบตาราง(Tabular Form) เป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูลทุกเรดคอร์ด
3.ฟอร์มแบบแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet Form) เป็นฟอร์มที่แสดงทุกเรดคอร์ดในลักษณะแผ่นตาราง เช่นเดียวกับตาราง (Table)
4.ฟอร์มแบบตารางสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Table Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลหลายมิติหรือหลายฟิลด์ ทำให้สามารถดูข้อมูลได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
5.ฟอร์มแบบแผนภูมิสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Chart Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลในลักษณะแผนภูมิ ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้หลายฟิลด์ที่ต้องการ
3.มุมมองของฟอร์มมีกี่มุมมอง อะไรบ้าง
ตอบ 3 มุมมอง คือ
1.มุมมองเค้าโครง (Layout View) เป็นมุมมองใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Access 2007 ซึ่งคล้ายกับมุมมองการออกแบบตรงที่สามารถจัดรูปแบบของฟอร์มได้ในบางส่วน เช่น การกำหนดสี ปรับขนาดอักษร ปรับขนาดฟิลด์ เป็นต้น แต่แสดงข้อมูลคล้ายในมุมมองฟอร์ม
2.มุมมองการออกแบบ (Design View) เป็นมุมมองสำหรับสร้างและออกแบบฟอร์ม
3.มุมมองฟอร์ม (Form View) เป็นมุมมองในการแสดงผลข้อมูลและใช้งานฟอร์ม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขฟอร์มได้
4.เครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบฟอร์มมีอะไรบ้าง
ตอบ 10 รูปแบบ คือ
1. ปุ่ม Form (ฟอร์มแบบคอลัมน์) เป็นคำสั่งแสดงข้อมูลทีละ 1 เรคคอร์ด
2. ปุ่ม Split Form (ฟอร์มแยก) สามารถเห็น 2 มุมมองในเวลาเดียวกัน คือมุมมองฟอร์มและมุมมองแผ่นตารางข้อมูล แสดงรายการของเรคคอร์ดทั้งหมด
3. ปุ่ม Multiple Items (หลายรายการ) สร้างฟอร์มแบบตาราง
4. ปุ่ม PivotChart เป็นการสร้างแผนภูมิ เพื่อสรุปผลข้อมูลแบบหลายมิติ
5. ปุ่ม From Wizard (ฟอร์มเพิ่มเติม-->ตัวช่วยสร้างฟอร์ม) ใช้เครื่องมือช่วยสร้างฟอร์มที่ เรียกว่า วิซาร์ด ทำให้การสร้างฟอร์มง่ายและเร็วยิ่งขึ้น
6. ปุ่ม Datasheet (แผ่นข้อมูล) สร้างฟอร์มในรูปแบบแผ่นตารางข้อมูล แสดงได้หลายเรคคอร์ดต่อ 1 หน้า สะดวกในการใช้งานกับแป้นพิมพ์ แต่ไม่สามารถสร้างปุ่มคำสั่งบนฟอร์มได้
7. ปุ่ม Modal Dialog (กล่องโต้ตอบ) สร้างฟอร์มในลักษณะไดอะล็อกบ็อกซ์ มีการกำหนดคุณสมบัติแบบ Popup และมีปุ่มในการทำงานให้อัตโนมัติ
8. ปุ่ม PivotTable สำหรับสร้างตารางสรุปข้อมูล
9. ปุ่ม Blank Form (ฟอร์มเปล่า) สร้างฟอร์มเปล่าด้วยการออกแบบเอง จะเข้าสู่การสร้างในมุมมองเค้าโครง(Layout View)
10. ปุ่ม Form Design (ออกแบบฟอร์ม) สร้างฟอร์มเปล่าด้วยการออกแบบเอง

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบโปรแกรมภาษาhtml

รายชื่อนักศึกษาระดับปวส.1 สทส.1
สาขาวิชาเทคโนโลยีส่ารสนเทศ ประจำปีภาคเรียนที่ 1/2554
ลำดับชื่อ-สกุลชื่อเว็บไซต์บล็อก
1นางสาวนิรมล ยิ้มเรืองhttp://iceniramon.blogspot.com/
2นางสาวพิมพ์ชนก เจริญสุขhttp://furnpimchanok.blogspot.com/
3นางสาววิภาวรรณ ฉายชูวงษ์http://vipawansts.blogspot.com/
4นางสาวศิริพร พงษ์ขุนทดhttp://fakedivazzz.blogspot.com/
5นางสาวอรไท ดอกยี่สุ่นhttp://dokyeesun.blogspot.com/
6นางสาวอรวรุณ มุสิกะฑัตhttp://numfon00prem.blogspot.com/
7นายขันติ เข็มทองhttp://jojoget777.blogspot.com/
8นายชินดนัย เสมอเหมือนhttp://promkcc.blogspot.com/
9นายทศพร ไทยประดิษฐ์http://bigbill235.blogspot.com/
10นายธันวา ไชยเดชhttp://jonaja.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว...

ชื่อ : นิรมล   ยิ้มเรือง
ชื่อเล่น : ไอซ์
กรุ๊ปเลือด : O
วันเดือนปีเกิด : 18/ม.ค./36
ที่ซุกหัวนอน : 67/229 ม.2 ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทสาคร 
เบอร์โทรศัพท์ : 086-5490641
อาจารย์ที่ปรึกษา  อ. อำภา  กุลธรรมโยธิน
เบอร์โทรศัพท์อาจารย์ทีปรึกษา 081-4134242

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิดีโอที่สนใจ

วิชาการโปรแกรมคอมพิวเตร์ 1

แบบฝึกหัด

วิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัด

วิชาระบบฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน


ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน รูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน


ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) Database Management System หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล


สรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1

ระบบฐานข้อมูล (Database System)
ระบบฐานข้อมูล คือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้าคงคลัง และข้อมูลพนักงานขาย เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมอาจจะเก็บอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เมื่อมีการใช้วิธีการจัดเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล ก็จะนาข้อมูลเหล่านี้มาจัดเก็บไว้ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขององค์กร ทาให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล ก็สามารถทาได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล(DatabaseManagement System : DBMS)

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทาหน้าที่ในการกาหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออานวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กาหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกาหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอานวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งรายละเอียดของประโยชน์ในการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลจะได้กล่าวถึงต่อไป

ประโยชน์ของฐานข้อมูล
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. ความสอดคล้องของข้อมูล
3. ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น
4. มีการใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5. เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล
6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย

หลักการออกแบบฐานข้อมูล
1. วัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
2. ต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้างจากระบบนี้
3. ถามความต้องการของผู้ใช้ ต้องการข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ต้องการอะไรบ้าง
4. วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5. จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บให้อยู่ในรูปแบบตาราง
6. วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง กำหนดเขตข้อมูลให้ครบถ้วน
7. พิจารณาเขตข้อมูลหลักหรือฟิลด์หลัก (Primary Key)ของ แต่ละตาราง
8. วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization
9. กำหนดชนิดข้อมูล ที่ต้องการเก็บว่าอยู่ในรูปแบบใด
10. กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูลออกแบบหน้าจอการใช้งาน

ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล ซึ่งขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้าง จากระบบนี้ เช่น รายงานสรุปต่าง ๆ ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจน
- สอบถามความต้องการของผู้ใช้ว่าจะต้องป้อนข้อมูลใดบ้างเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากระบบต้องการอะไรบ้าง
- วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
- จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง (Table) โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่
- วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง เพื่อกำหนดเขตข้อมูลหรือฟิลด์ข้อมูลให้ครบถ้วน
- พิจารณาเขตข้อมูลหลักหรือฟิลด์หลัก (Primary Key) ของแต่ละตาราง
- วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization เพื่อให้ได้ตารางข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและถูกต้อง
- กำหนดชนิดข้อมูล (Data Type) ที่ต้องการจัดเก็บว่าอยู่ในรูปแบบใด
- กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล (Relationship)
- ออกแบบหน้าจอการใช้งาน

ความสามารถของ Microsoft Access 2007
- สร้างแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลนักเรียน เป็นต้น ซึ่งมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- สามารถสร้างตาราง (Table) เก็บข้อมูล และออกแบบโครงสร้างของข้อมูลได้
- มีเครื่องมือที่ช่วยในการสอบถามข้อมูล (Query) จากฐานข้อมูล และสามารถคำนวณหาผลลัพธ์ได้อีกด้วย
- มีเครื่องมือฟอร์ม (From) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
- สามารถสรุปรายงาน (Report) ออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่นรายงานสรุปข้อมูล โดยมีการแบ่งกลุ่ม รายงานสรุปข้อมูลแบบหลายมิติ (Pivot Table) และการสร้างฉลากติดซองจดหมายเพื่อส่งข้อมูลไปยังลูกค้า เป็นต้น
- มีแม่แบบ (Template) และเครื่องช่วย (Wizard) ที่ช่วยในการสร้างฐานข้อมูลให้สะดวกยิ่งขึ้น
- สามารถนำข้อมูลเข้า (Import) จากฐานข้อมูลอื่น หรือส่งข้อมูลออก (Export) ไปยังฐานข้อมูลอื่นได้
- สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย Windows SharePoint Services เพื่อแบ่งปันข้อมูล Access 2007 กับทุกคนในทีมโดยใช้ Windows SharePoint Services และ Access 2007

คุณสมบัติใหม่ของ Access 2007
การทำงานใน Access 2007 นั้นมีการปรับปรุงด้านหลัก ๆ 4 ด้านคือ
- ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
- การจัดการรูปแบบของไฟล์โดยสนับสนุนไฟล์ฟอร์แมตใหม่ 3 ชนิดคือ MicrosoftOffice Open XML, PDF และ XPS
- ปรับปรุงการทำงานร่วมกันของโปรแกรมในชุด Microsoft Office
- ปรับปรุงด้านความปลอดภัย

กฎการ Normalization
เป็นกฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย และถ้าเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว เราใช้กฎ Normalization เพียง 3 ข้อก็เพียงพอในการออกแบบตารางโดยทั่วไปแล้วจากรายละเอียดทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
- กฎข้อที่ 1 (First Normal Form) กล่าวว่า จะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน
- กฎข้อที่ 2 (Second Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 2 จะต้องไม่มีแอตตริบิวต์ (Attribute) หรือฟิลด์ที่ไม่ใชคีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก จะต้องมีเฉพาะคีย์หลักเต็ม ๆ เท่านั้น ซึ่งจะผ่านกฎข้อนี้ จะต้องแยกฟิลด์เฉพาะออกมาสร้างตารางใหม่ แล้วใช้ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many)
- กฎข้อที่ 3 ( Third Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 3 จะต้องไม่มีแอตตริบิวต์ใดที่ขึ้นกับแอตตริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก การแก้ไขให้ผ่านกฎข้อนี้ ทำได้โดยแยกตารางออกมาสร้างตารางใหม่
ความต้องการของระบบในการใช้งาน Access 2007
- กฎข้อที่ 4 ( Fourth Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 4 จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่ม(Multivalued Dependency) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบ Many-to-Many ภายในตารางเดียวกัน

ความต้องการของระบบขั้นต่ำที่ไมโครซอฟต์ได้ระบุไว้ดังนี้
- หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) อย่างต่ำ 500 MHz
- หน่วยความจำ (RAM) อย่างต่ำ 256 MB แนะนำ 512 MB
- พื้นที่เก็บข้อมูล (Harddisk) 1.5 GB
- ไดรฟ์ต่าง ๆ เช่น CD-ROM,DVD เป็นต้น
- ความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ 1024 x 768 พิกเซล หรือสูงกว่า
- ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP Service Pack2 หรือ Windows Server 2003 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่า

การเริ่มสร้างฐานข้อมูล
หลังจากที่เข้าสู่โปรแกรมแล้ว จะปรากฏหน้าจอโปรแกรมให้เริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลใหม่หรือเรียกใช้รูปแบบสำเร็จรูป (Template) ซึ่งในการเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลใหม่นั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Blank Database เพื่อเข้าสู่การสร้างฐานข้อมูลเปล่า
2. ตั้งชื่อฐานข้อมูลที่ช่อง File Name
3. คลิกปุ่มโฟลเดอร์เพื่อกำหนดแหล่งเก็บ
4. เลือกแหล่งเก็บฐานข้อมูลที่ช่อง Save in
5. คลิกปุ่ม OK
6. คลิกปุ่ม Create จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอโปรแกรมเพื่อเริ่มต้นสร้างตารางเก็บข้อมูล


ตอนที่ 1 แบบปรนัย
1. ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร
ตอบ ข. ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล
2. หลังจากที่สร้างฐานข้อมูลแล้ว จะต้องสร้างออบเจ็กต์ใดเป็นอันดับแรก
ตอบ ก. Table
3. ออบเจ็กต์ใดที่ทำหน้าที่การเก็บข้อมูลทั้งหมดลงฐานข้อมูล
ตอบ ข. Query
4. ออบเจ็กต์ Query มีหน้าที่ทำอะไร
ตอบ ค. สร้างแบบสอบถามข้อมูล
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของออบเจ็กต์ Form
ตอบ ข. เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล
6. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช กฎของการ Normalization
ตอบ ข. จะต้องมีความสัมพันธ์แบบเชิงกลุ่ม (Many-to-Many)
7. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่ได้รับของระบบฐานข้อมูล
ตอบ ค. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
8. ขั้นตอนใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนแรกในการออบแบบฐานข้อมูล
ตอบ ก. กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
9. ส่วนประกอบต่อไปนี้เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 ยกเว้น ข้อใด
ตอบ ง. Ribbon
10. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
ตอบ ก. เมื่อบันทึกฐานข้อมูลใน Access 2007 จะมีนามสกุล .accdb

ตอนที่ 2 แบบจับคู่ ค าชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่คำต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ช. DBMS ก. แถบในการแสดงออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น
2. จ. Normalization ข. แบบสอบถามข้อมูล
3. ซ. Office Button ค. ส่วนของพื้นที่การทำงานของออบเจ็กต่าง ๆ
4. ญ. Quick Access Toolbar ง. ชุดคำสั่งกระทำการต่าง ๆ ที่นำมารวมกัน
5. ฌ. Ribbon จ. กฎที่ใช้ในการออบแบบตาราง
6. ก. Navigation Pane ฉ. โปรแกรมย่อยที่เขียนขึ้นภาษา VBA
7. ค. Document Window ช. ระบบจัดการฐานข้อมูล
8. ข. Query ซ. ปุ่มที่รวบรวมชุดคำสั่งในการจัดการฐานข้อมูล
9. ง. Macro ฌ. ส่วนการทำงานใหม่ที่เข้ามาแทนที่แถบเมนูและแถบเครื่องมือ
10. ฉ. Module ญ. แถบเครื่องมือที่รวบรวมปุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆเอาไว้

ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. จงอธิบายถึงความหมายของฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) คือข้อมูลจำวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง และข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในการสร้างตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นสิ่งที่ต้องทำป็นอันดับแรก หรือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องนำปใช้งานต่อไป
2. ระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลใน
ส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล จะทำห้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและ ที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
3. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำ เข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูล จะคอยควบคุมให้มีการน าเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูป
แบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
5. มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ และสามารถก าหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะท าการตรวจสอบสิทธิ์ในการท างานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลง
รูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ท าให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
3. ใน Microsoft Access 2007 ประกอบไปด้วยออบเจ็กต์อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร
1.Table ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
2.Queries ช่วยค้นหาหรือสร้างแบบสอบถามข้อมูล
3.Froms แบบฟอร์มในการทำงาน สำหรับจัดการกับข้อมูลแทนการจัดการในตาราง
4.Report ใช้ในการสร้างรายงาน
5.Macros ชุดคำสั่งที่นำมาร่วมกันตามขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้การทำงานเป็นอัตโนมัติ
6.Modules ช่วยให้ทำงานกับข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
4. จงอธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูลมาพอใจ
ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล

5. จงยกตัวอย่างระบบงานที่ควรนำระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้ พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล
งานทะเบียน เพราะว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับประวัติของพนักงานหรือนักเรียนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลต่างๆหลายอย่างมาเก็บข้อมูลไว้ได้ง่าย


แบบฝึกห้ดท้ายบทที่ 2

ตอนที่ 1 แบบปรนัย
1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของตาราง(Table)ได้ชัดเจนที่สุด
ตอบ ง. ออบเจ็กต์ที่เก็บข้อมูลในฐานข้อมูล
2.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด
ตอบ ง. Attachment เป็นชนิดข้อมูลสำหรับสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังไฟล์
3.ฟิลด์(Field)หมายถึงอะไร
ตอบ ค. คอลัมน์
4.เรคคอร์ด(Record)หมายถึงอะไร
ตอบ ง. ข้อมูล
5.ชนิดข้อมูลแบบ(Text)สามารถเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักษร
ตอบ ค. 255
6.ถ้าต้องการกำหนดฟิลด์ในการเก็บข้อมูลจำนวนมากๆจะต้องเลือกชนิดข้อมูลแบบใด
ตอบ ก. Memo
7.มุมมองที่ใช้ในการสร้างตารางด้วยการออกแบบเองคือมุมมองใด
ตอบ ก. Design View
8.ชนิดความสัมพันธ์ของข้อมูลมีกี่แบบ
ตอบ ข. 3 แบบ
9.ข้อใดต่อไปนี้ ไม่สามารถ นำมาประกอบในการตั้งชื่อฟิลด์ข้อมูลได้
ตอบ ง. เครื่องหมายจุด(.)
10.ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลในตารางจากน้อยไปหามาก จะต้องใช้เครื่องมือใด
ตอบ ก. Ascending

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนจับคู่ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ฌ Field ก. กำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล
2. ง Record ข. เก็บข้อมูลประเภทรูปภาพ
3. จ Memo ค. เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก
4. ข OLE object ง. ข้อมูลในแนวแถว
5. ซ Currency จ. เก็บข้อมูลประเภทข้อมูลที่มีความยาวมากๆ
6. ญ Attachment ฉ. กำหนดรูปแบบแสดงข้อมูล
7. ก Input Mask ช. เรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อย
8. ฉ Format ซ. เก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงิน
9. ช Descending ฌ. ข้อมูลในแถวคอลัมน์
10.ค Ascending ญ. เก็บเอกสารและแฟ้มไบนารี่ทุกชนิดในฐานข้อมูล


ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
1.จงอธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างตาราง
คือ การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสูง ผู้ใช้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว มีการจัดเป็นระเบียบ
2.จงบอกถึงคุณสมบัติในการเลือกฟิลด์ข้อมูลที่จะนำมาเป็นคีย์หลัก(Primary Key)
คือ ข้อมูลของแอททริบิวท์มีความเป็นหนึ่งเดียว(Uniqueness) ทุกแถวของตารางจะต้องไม่มีข้อมูลของแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลักซ้ำกันเลย
ต้องประกอบด้วยจำนวนแอททริบิวท์ที่น้อยที่สุด()ที่จะสามารถใช้เจาะจงหรืออ้างอิงถึงแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชันได้
3.อธิบายความแตกต่างในการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ(Table Design)และมุมมองแผ่นตารางข้อมูล(Datasheet View)
คือ การสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ เป็นการกำหนดฟิลด์ข้อมูลของตาราง ชนิดข้อมูล และคุณสมบัติของฟิลด์แต่ละฟิลด์ แต่การสร้างตารางแผ่นตารางข้อมูลจะเป็นการป้อนข้อมูลที่จะเก็บไว้ในตาราง
4.จงบอกขั้นตอนในการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบว่ามีขั้นตอนอย่างไร
1.คลิกเข้าไปในโปแกรม Microsoft Access 2007 แล้วเลือกที่ฐานข้อมูลเปล่า กำหนดชื่อฐานข้อมูล กำหนดไฟล์ที่ต้องการจะเก็บข้อมูล แล้วกด สร้าง
2.คลิกเข้าไปที่เมนูมุมมองแล้ว เลือก เมนูการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ
3.กำหนดชื่อของตาราง
4.กำหนดชื่อของเขตของข้อมูล
5.กำหนดชนิดของข้อมูล
6.กำหนดชื่อคำอธิบายแล้วกำหนดขนาดของขอบเขตข้อมูล
5.ในการสร้างตารางด้วยแม่แบบ(Template)มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี ทำงานได้สะดวกและรวดเร็ว
ข้อเสีย จะไม่ตรงต่อความต้องการทั้งหมดแต่เราสามารถเปลี่ยนเองได้

วิชาการโปรแกรมเว็บ 1

แบบฝึกหัดที่ 1
ตอนที่ 1

1. อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าอย่างไร คืออะไร
ตอบ อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เน็ต” คือระบบเครือข่ายที่ให้ที่สุด ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน จนเรียกได้ว่าเป็น “เครือข่ายไร้พรมแดน” โดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว

2. ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตมีลักษณะอย่างไร
ตอบ ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะ “ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์” (Client-Server) คือมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ “เครื่องแม่ข่าย” หรือ ผู้ให้บริการกับเครื่องที่เป็นไคลเอนท์ คือ “เครือลูกข่าย”หรือผู้ขอใช้บริการที่การติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา ในการติดต่อสื่อสารจะมีชื่อที่อยู่เพื่อจะ ได้ทราบว่า ข้อมูลถูกส่งมาจากไหน และมีปลายทางอยู่ที่ใด ซึ่งชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า “ไอพี แอดเดรส” (IP Address) เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 ค้นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9

3. “ไคเอนท์-เซิร์ฟเวอร์” (Client-Server) คืออะไร
ตอบ “ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์” (Client-Server) คือมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ “เครื่องแม่ข่าย” หรือ ผู้ให้บริการกับเครื่องที่เป็นไคลเอนท์ คือ “เครือลูกข่าย”หรือผู้ขอใช้บริการที่การติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา ในการติดต่อสื่อสารจะมีชื่อที่อยู่เพื่อจะ ได้ทราบว่า ข้อมูลถูกส่งมาจากไหน และมีปลายทางอยู่ที่ใด ซึ่งชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า “ไอพี แอดเดรส” (IP Address) เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 ค้นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9

4. ชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเรียกกันว่าอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า “ไอพี แอดเดรส” (IP Address) เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 ค้นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9

5. บอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมาอย่างน้อย 5 อย่าง
ตอบ 1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป (Newgroup) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

6. ยกตัวอย่างภัยจากอินเทอร์เน็ตที่มีต่อเยาวชนไทยในปัจจุบันมา 3 ข้อ
ตอบ 1. สื่อลามกผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบอร์ดลับส่งภาพหรือไฟล์ลามกผ่านทางอีเมล์
2. การแชท (Chat) สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต
3. การติดเกมส์ออนไลน์
4. การกระทำพฤติกรรมที่ไม่มีเหมาะสมที่เรียกกันว่า” (Webcam) หรือโชว์สัดส่วนทางแคมฟร็อก (cam frog)

7. เวิล์ดไวต์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3) คืออะไร
ตอบ เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น
หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือ
มัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ
ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้
เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

8. รูปแบบของ FTP แบ่งได้เป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบของ FTP แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. Download คือ การคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หรือจากคอมพิวเตอร์อื่นมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น การดาวน์โหลดโปรแกรมหรือเกมส์จาก ผู้ผลิตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ดังตัวอย่าง

2. Upload คือ การคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์อื่นเว็บเพจเสร็จแล้วต้อง เช่นการสร้าง Upload เว็บเพจ ไปไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ดังตัวอย่าง

9. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร
คอบ เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) คือ โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจ หรือเรียกสั้นๆว่า “[บราวเซอร์” มีหน้าที่ติดต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอของโปรแกรม เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , โปรแกรม Netscape Navigator , โปรแกรม Open , โปรแกรม Firefox เป็นค้น

10. URL (Uniform Resource Locator) คืออะไร ยกตัวอย่างรูปแบบ URL
ตอบ URL (Uniform Resource Locator) คือ การเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บเพจ หรือไฟล์ประเภทอื่นจะต้องรู้ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลนั้น
ตัวอย่าง URL
1. http://www.thonburi.ac.th/
2. http://www.workpoint.co.th/
3. http://www.sanook.com/

ตอนที่ 2
1. “ไอพีแอดเดรส” ในอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนข้อใด
ตอบ ค. เลขที่บ้าน

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ตรงกับข้อใด
ตอบ ข. เครื่องแม่ข่าย

3. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
ตอบ ข. ส่งพัสดุภัณฑ์

4. เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์จะพบข้อมูลประเภทใดบ้าง
ตอบ ง. ถูกหมดทุกข้อ

5. ชื่อที่อยู่ของ E-mail เรียกกันว่าอย่างไร
ตอบ ค. E-mail Address

6. FTP ย่อมาจากข้อใด
ตอบ ง. File Transfer Protocol

7. ข้อใดคือความหมายของ FTP
ตอบ ค. การโอนย้ายข้อมูล

8. การคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องผู้ใช้หมายถึงข้อใด
ตอบ ข. Download

9. การคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. Upload

10. ข้อใดหมายถึงการให้บริการแบบทางไกล
ตอบ ค. Remote

11. เว็บเพจ (Web Page) หมายถึงข้อใด
ตอบ ข. ไฟล์ 1 ไฟล์ คือเว็บเพจ 1 หน้า

12. เว็บไซต์ (Web Site) หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. กลุ่มของเว็บเพจหลายหน้า

13. โฮมเพจ (Homepage) หมายถึงข้อใด
ตอบ ค. เว็บเพจหน้าแรก

14. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือข้อใด
ตอบ ง.ทำหน้าที่เก็บเว็บไซต์

15. ข้อใดคือหน้าที่หลักของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ



สรุป Photoshop Cs3

ส่วนประกอบของ Photoshop CS3
Application Bar = แถบที่แสดงโปรแกรม Photoshop CS3
Menu Bar = เมนูบาร์เป็นแถบคำสั่งที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานของ Photoshop CS3 ไว้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละกลุ่มคำสั่งมีความสำคัญ
Option Tools Palette = คุณสมบัติพิเศษของเครื่องมือ
Tools palette = แถบกล่องเครื่องมือ
Document Window = พื้นที่การทำงาน
Panel = แถบคุณสมบัติพิเศษ มี
- วิธีการลบเลเยอร์ที่ไม่ต้องการทิ้งไปสามารถทำได้ เช่น คลิกเมนู Layer Delete หรือ ลากเลเยอร์ไปวางไว้ในทั้งขยะ
- เปลี่ยนชื่อเลเยอร์ เป็นชื่อที่เราต้องการทำได้ เช่น กดดับเบิ้ลคลิกที่ Layer แล้วพิมพ์ชื่อกด Enter
Tools Palette = กล่องเครื่องมือหรือ Tools Palette มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยาวภายในบรรจุเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิก แก้ไข และปรับแต่งภาพต่างๆ
กลุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือ Tools Palette
Marquee Tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้เลือกพื้นที่ ในรูปทรงแบบเรขาคณิต มีรายละเอียดดังนี้
- Rectangular Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่แบบสี่เหลี่ยม เพื่อนำไปใช้งาน
- Elliptical Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่แบบวงกลมเพื่อนำไปใช้งาน
- Single Row Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่ในแนวนอนมีความกว้าง 1 พิกเซล
- Single Column Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่ในแนวตั้งมีความกว้าง 1 พิกเซล
Lasso Tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอิสระเหมาะกับงานเลือกพื้นที่ที่มีความละเอียดสูง เครื่องมือมีทั้งหมด 3 ชิ้น คือ
- Lasso Tool ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอิสระซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก การใช้งานให้คลิกเมาส์ลากกรอบพื้นที่ที่ต้องการ
- Polygonal Lasso Tool ใช้สร้าง Selection แบบเส้นตรง ซึ่งเหมาะสำหรับเลือกรูปภาพที่มีรายละเอียดเป็นเส้นตรงหรือมุมฉาก
- Magnetic Lasso Tool ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเหมาะสำหรับภาพที่มีความแตกต่างของสี การใช้งานเพียงพอแต่ลากเมาส์ผ่านภาพโปรแกรม จะกำหนดส่วนที่เป็นโทนสีเดียวกันสร้างจุด Anchor ขึ้นมา
Magic Wand เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้าง Selection แบบเฉพาะค่าสีคือโปรแกรมจะเลือกส่วนที่มีโทนสีใกล้เคียงกันเพื่อสร้าง Selection วิธีใช้งานเพียงนำเมาส์ไปคลิกบริเวณพื้นที่สีที่ต้องการเลือก
- Tolerance เป็นการกำหนดค่าสีหรือเพิ่มจำนวนพิกเซลที่อยู่บนภาพ ก่อนการสร้าง Selection มีค่าตั้งแต่ 0- 255 ระดับ ถ้ากำหนดค่ามากจะทำให้สามารถเลือกความกว้างของช่องค่าสีเพิ่มขึ้น
- Anti-alias เป็นการกำหนดขอบของภาพให้เรียบ
- Contiguous เป็นการเลือกพื้นที่ในส่วนที่มีค่าสีใกล้เคียง ในกรณีที่ไม่ใช้คำสั่งนี้สีที่ไม่ได้ใกล้เคียงกันไปด้วย
- Sample All Layers เป็นการกำหนดพื้นที่สีจากเลเยอร์ทั้งหมด โดยเลือกพื้นที่เหมือนกับเป็นเลเยอร์เดียว กรณีไม่เลือกใช้คำสั่งโปรแกรมจะสร้าง Selection จากเลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่
สร้าง Selection ด้วย Quick Mask
Quick Mask เป็นการสร้าง Selection อีกวิธีหนึ่ง ที่เหมาะกับรูปภาพที่มีความซับซ้อนหรือมีโทนสีใกล้เคียงกันจนไม่สามารถใช้เครื่องมืออื่นตัดพื้นที่ได้ Quick Mask จะใช้ร่วมกับ Brush Tool เพื่อใช้ระบายสีเลือกพื้นที่

การย่อภาพ
ไปคลิกที่ Image เลือก Image size = กำหนดขนาดของภาพ
การทำภาพซ้อนภาพเพื่อนำไปเป็น Background
เลือกรูปมาก่อนแล้ว Save ต่อไปเลือก เมนู Edit เลือก Define Pattern
แล้วเลือก เครื่องมือแถบ Tool bar กดคลิกขวาที่เครื่องมือ Clone Stamp Tool แล้วเลือก Pattern Stamp Tool
แล้วเลือกรูป Pattern บนแถบเมนูด้านบนที่เราได้ Saveไว้ แล้วนำมาระบายในภาพที่เราต้องการ

วิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ

แบบฝึกหัดบทที่ 1

ระบบคอมพิวเตอร์(Computer System)
             1                                                2                                                 3
ฮาร์ดแวร์(Hardware)                          ซอฟต์แวร์(Software)                           บุคลากร(Peopleware)


        1                                   1                                2                         1
-Output Unit              *System Software  *Application Software     -ผู้ใช้(User)
(หน้าจอคอมพิวเตอร์)        -BASIC                  -MS-Office                   -นักวิเคราะห์ระบบ
-Input Unit                 -FORTRAN            -Lotus                           -Programmer
(คีย์บอร์ด,เมาส์)               -PASCAL               -Adobe Photoshop       -เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
 -CPU                         -COBOL                -SPSS                       -เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม
-Secondary Storage    -C                          -Internet Explorer         -เจ้าหน้าที่ออกแบบระบบ
-หน่วยความจำหลัก          -C++                     -game                             -วิศวกรระบบ   
                                 -ALOGOL                                              -เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล
                                             -APL        
                                  -LISP
                                  -LOGO
                                  -PL/I
                                  -PROLOG
                                  -RPG
                                  -VISUAL BASIC
                                  -JAVA

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดใบความรู้หน่วยที่ 1
1.จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด
- มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 1960 – 1969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว

2.จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)

ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)

อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล

หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล

หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล

หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต

3.คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง
- 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy)
2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness)
3. ความสมบูรณ์ (Completeness)
4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)
5. ตรวจสอบได้ (Verifiability)

4.จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาอย่างน้อย 5 ข้อ
- 1.ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
2.สามารถจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ
3.สามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิต เบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม การโอนย้ายข้อมูลในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องกับ
4.ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น
5.ช่วยประหยัดเวลา ช่วยในการทำงาน

5.จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศตามความเข้าใจ
- อันตรายของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาใน ชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับการขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งานการริดรอนระบบสารสนเทศการสร้าง/ส่งข้อมูลลวงการล้วงข้อมูลมาใช้งานซึ่ง อันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้านเทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง

6.ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
- เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่

1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่ง

องค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงา

ตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น

2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ใน

องค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่

หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหา

ต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ

3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศ

เข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลว

ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำ

เป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ

สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น

ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns)

นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology)

ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง

ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ

ระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี

นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้าน

ผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ

1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวม

ทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิด

ชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจาก

เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้

กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศ

3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความ

เสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็น

อุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ